วันอังคารที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ญาณวิทยา (Epistemology)

ญาณวิทยา หรือเรียกอีกอย่างว่า "ทฤษฎีความรู้" (Theory of Knowledge)
บัญญัติขึ้นเพื่อใช้เป็นคำแปลของคำภาษาอังกฤษว่า Epistemology ซึ่งมาจากภาษากรีกว่า Episteme (ความรู้) และ Logos (วิชา) ซึ่งมีความหมายว่า ทฤษฎีแห่งความรู้

ญาณวิทยาจะอธิบายถึงปัญหาเกี่ยวกับที่มาของความรู้ แหล่งเิกิดของความรู้ ธรรมชาติของความรู้ และเหตุแห่งความรู้ที่แท้จริง โดยมุ่งเน้นในเรื่องปัญหาของความรู้ว่า "มนุษย์รู้ได้อย่างไรว่าอะไรเป็นความแท้จริง" "มนุษย์มีความรู้ได้อย่างไร" "เราแน่ใจได้อย่างไรว่าความรู้ต่างๆเป็นจริง ไม่ผิดพลาด" เป็นต้น เมื่อได้คำตอบหรือความรู้เรื่องหนึ่งแล้ว ปรัชญาสาขานี้ก็ไม่ได้จบลงแค่นั้น แต่ยังย้อนกลับไปตามขั้นตอนต่างๆ เพื่อหาหนทางที่กระจ่างขึ้น เพื่อที่จะพากลับไปยังจุดเริ่มต้นของปัญหาใหม่ อย่างน้อยจะสามารถชี้ได้ว่าคุณลักษณะของความรู้ (Characteristic of knowledge) คืออะไร และความเที่ยงตรงของความรู้นั้นจะตรวจสอบได้อย่างไร

ดังนั้น ครูจึงต้องมีความคิดเกี่ยวกับความรู้ไว้เป็นการล่วงหน้าว่า "ความรู้ใด ความรู้อะไรที่มีคุณค่า" เพราะความรู้เป็นทุนสำคัญของ นักการศึกษา และครูก็อยู่ในฐานะของนักการศึกษาด้วย จึงจำเป็นต้องมีความรู้ ความฉลาด และปัญญา เพื่อพัฒนานักเรียนของตน ถึงแม้ว่าครูจะมีบุคลิกภาพดี ปละมีสติอารมณ์มั่นคง แต่ครูก็ยังต้องมีความรู้ที่เชื่อถือได้ด้วย ดังนั้น จึงจำเป็นที่ครูจะต้องมีความคิดทางปรัชญาว่า ความรู้ที่ดีที่สุดที่ทำให้เกิดประโยชน์กับนักเรียนคืออะไร กิจกรรมอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องเพื่อทำให้เกิดความรู้ดังกล่าว อะไรคือความแตกต่างระหว่างการเรียนรู้ (Knowledge) กับการเชื่อ (Believing) เราจะสามารถรู้อะไรได้บ้างจากความรู้สึก (sense) ที่เรามี อะไรคือความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการกระทำของความรู้ต่อสิ่งที่จะได้เรียนรู้ และเราจะแสดงความรู้ว่าเป็นจริงได้อย่างไร เพราะฉะนั้นประโยชน์ที่ครูจะได้รับจากญาณวิทยาคือ "ทำให้ครูมองเห็นความแตกต่างของความรู้ประเภทต่างๆได้"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น